ปี ๒๕๔๙ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำองค์ความรู้
เรื่อง มารยาทไทย ประกอบด้วย การกำหนด ความหมาย ขอบข่าย ลำดับความสำคัญ
และการปรับปรุงรายละเอียดการปฏิบัติท่ามารยาทไทย เรื่องการแสดงความเคารพ
ซึ่งจัดทำโดย คณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทย ตามคำสั่ง
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ ๖๓๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ โดยมี
นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นประธานในการดำเนินงาน และได้ประชุมปฏิบัติการเมื่อวันที่
๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุมกองอำนวยการร่วม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการจัดทำองค์ความรู้ดังกล่าว
ก็เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมด้านมารยาทไทยอันเป็นรูปแบบปฏิบัติของคนไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย
ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น
รายละเอียดดังนี้
ความหมาย มารยาท
“ มารยาท ” หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย
ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ
ขอบข่าย มารยาทไทย
มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา
วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ
การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา
การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง
ๆ
ลำดับความสำคัญมารยาทไทย
มารยาทไทย
เป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย ควรกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
๑ การแสดงความเคารพ
|
๒ การยืน
|
๓ การเดิน
|
๔ การนั่ง
|
๕ การนอน
|
๖ การรับของส่งของ
|
๗ การแสดงกิริยาอาการ
|
๘ การรับประทานอาหาร
|
๙ การให้และรับบริการ
|
๑๐ การทักทาย
|
๑๑ การสนทนา
|
๑๒ การใช้คำพูด
|
๑๓ การฟัง
|
๑๔ การใช้เครื่องมือสื่อสาร
|
๑๕ การประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น